มหาธรรมกายเจดีย์ เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย
มหาธรรมกายเจดีย์สัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก
มหาธรรมกายเจดีย์ ตั้งอยู่ที่วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ถูกออกแบบมาเพื่อประดิษฐานองค์พระธรรมกายประจำตัว 1,000,000 องค์
มหาธรรมกายเจดีย์สัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก
มหาธรรมกายเจดีย์ ตั้งอยู่ที่วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ถูกออกแบบมาเพื่อประดิษฐานองค์พระธรรมกายประจำตัว 1,000,000 องค์
นับว่าเป็นมหาเจดีย์แห่งพระรัตนตรัย เกิดขึ้นจากการดำริของพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เพื่อสร้างศาสนสถานให้เป็นศูนย์กลางการรวมใจและการประพฤติปฏิบัติธรรมของชาวพุทธทั่วโลก
ซึ่งศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายและพุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้ร่วมใจกันสถาปนาขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2537 เรื่อยมา เป้าหมายในการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ก็เพื่อไว้เป็นสถานที่สำหรับสร้างสันติภาพโลกให้แก่มวลมนุษยชาติ
โดยเริ่มจากการพัฒนาสันติสุขภายในใจของแต่ละบุคคล เพราะแท้จริงแล้ว สันติภาพโลกเป็นผลพลอยได้จากใจที่เปี่ยมไปด้วยสันติสุข และความบริสุทธิ์ของทุกๆ คนที่เกิดขึ้นจากใจที่หยุดนิ่งจากการทำสมาธิ(Meditation) และความบริสุทธิ์ของทุกๆ คนที่เกิดขึ้นจากใจที่หยุดนิ่งจากการทำสมาธิ(Meditation) สันติสุขภายในจะผสานความแตกต่างและแตกแยก และสร้างปณิธานแห่งสันติภาพโลกร่วมกัน องค์มหาธรรมกายเจดีย์ มีลักษณะเป็นทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 194.40 เมตร ความสูง 32.40 เมตร มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
พุทธรัตนะ คือ ส่วนโดมและเชิงลาดสีทอง ด้านนอกเจดีย์ประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว 300,000 องค์ และด้านในเจดีย์อีก 700,000 องค์ องค์พระธรรมกายประจำตัว ซึ่งมีความสูง 18 เซนติเมตร หล่อด้วยโลหะซิลิกอนบรอนซ์ยิงอนุภาคทองคำแท้เคลือบพื้นผิวด้านนอกองค์พระและจารึกชื่อของผู้เป็นเจ้าของไว้ที่ฐานองค์พระ นอกจากนี้ภายในเจดีย์ยังประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระบรมพุทธเจ้าที่หล่อจากเงินแท้ หนัก 14 ตัน มีความสูง 4.50 เมตร หน้าตักกว้าง 4.50 เมตร ทั้งองค์พระธรรมกายประจำตัวและองค์พระบรมพุทธเจ้าสร้างตามลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก
ธรรมรัตนะ เป็นวงแหวนเชิงลาดสีขาวโดยรอบมหาธรรมกายเจดีย์ แทนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงสัญลักษณ์ที่แผ่ขยายออกไปประดุจธรรมจักร เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างพุทธรัตนะและสังฆรัตนะ มีความกว้าง 10.8 เมตร
สังฆรัตนะ เป็นพื้นที่ขั้นบันไดวงแหวน ลดหลั่นลงมา จำนวน 22 ขั้น ถัดจากธรรมรัตนะ ใช้สำหรับพระภิกษุนั่งปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีจำนวน 10,000 รูป หินแกรนิตที่นำมาประกอบเป็นธรรมรัตนะและสังฆรัตนะ เป็นหินแกรนิตคุณภาพดี เนื้อหินมีความสม่ำเสมอมีความหนามากกว่าหินแกรนิตทั่วไป
ซึ่งศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายและพุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้ร่วมใจกันสถาปนาขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2537 เรื่อยมา เป้าหมายในการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ก็เพื่อไว้เป็นสถานที่สำหรับสร้างสันติภาพโลกให้แก่มวลมนุษยชาติ
โดยเริ่มจากการพัฒนาสันติสุขภายในใจของแต่ละบุคคล เพราะแท้จริงแล้ว สันติภาพโลกเป็นผลพลอยได้จากใจที่เปี่ยมไปด้วยสันติสุข และความบริสุทธิ์ของทุกๆ คนที่เกิดขึ้นจากใจที่หยุดนิ่งจากการทำสมาธิ(Meditation) และความบริสุทธิ์ของทุกๆ คนที่เกิดขึ้นจากใจที่หยุดนิ่งจากการทำสมาธิ(Meditation) สันติสุขภายในจะผสานความแตกต่างและแตกแยก และสร้างปณิธานแห่งสันติภาพโลกร่วมกัน องค์มหาธรรมกายเจดีย์ มีลักษณะเป็นทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 194.40 เมตร ความสูง 32.40 เมตร มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
พุทธรัตนะ คือ ส่วนโดมและเชิงลาดสีทอง ด้านนอกเจดีย์ประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว 300,000 องค์ และด้านในเจดีย์อีก 700,000 องค์ องค์พระธรรมกายประจำตัว ซึ่งมีความสูง 18 เซนติเมตร หล่อด้วยโลหะซิลิกอนบรอนซ์ยิงอนุภาคทองคำแท้เคลือบพื้นผิวด้านนอกองค์พระและจารึกชื่อของผู้เป็นเจ้าของไว้ที่ฐานองค์พระ นอกจากนี้ภายในเจดีย์ยังประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระบรมพุทธเจ้าที่หล่อจากเงินแท้ หนัก 14 ตัน มีความสูง 4.50 เมตร หน้าตักกว้าง 4.50 เมตร ทั้งองค์พระธรรมกายประจำตัวและองค์พระบรมพุทธเจ้าสร้างตามลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก
ธรรมรัตนะ เป็นวงแหวนเชิงลาดสีขาวโดยรอบมหาธรรมกายเจดีย์ แทนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงสัญลักษณ์ที่แผ่ขยายออกไปประดุจธรรมจักร เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างพุทธรัตนะและสังฆรัตนะ มีความกว้าง 10.8 เมตร
สังฆรัตนะ เป็นพื้นที่ขั้นบันไดวงแหวน ลดหลั่นลงมา จำนวน 22 ขั้น ถัดจากธรรมรัตนะ ใช้สำหรับพระภิกษุนั่งปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีจำนวน 10,000 รูป หินแกรนิตที่นำมาประกอบเป็นธรรมรัตนะและสังฆรัตนะ เป็นหินแกรนิตคุณภาพดี เนื้อหินมีความสม่ำเสมอมีความหนามากกว่าหินแกรนิตทั่วไป
โครงสร้างของมหาธรรมกายเจดีย์ นั้นสร้างขึ้นจาก Super Structure Concrete ซึ่งเป็นคอนกรีตส่วนผสมพิเศษที่สามารถรับกำลังอัดได้มากกว่าโครงสร้างปกติถึง 3 เท่า พื้นผิวทั้งหมดไม่กระทบกับฝนและแดด ความร้อนและความเย็นก็ไม่กระทบโดยตรง จึงทนทานต่อการกัดกร่อนมากกว่า และสามารถอยู่ได้นานนับพันปี เสาเข็มขององค์มหาธรรมกายเจดีย์หล่อด้วยคอนกรีตผสมพิเศษหุ้มสแตนเลส เพื่อให้ทนต่อการกัดกร่อน
ประเภทของมหาธรรมกายเจดีย์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น