ธรรมกายเป็นภัยต่อความมั่นคงจริงหรือ???
ในช่วงวันสองวันที่ผ่านมา มีคำถามว่า “วัดพระธรรมกายเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่”เป็นคำถามยอดฮิตและเริ่มกระจายกันไปในวงกว้าง ผมก็เลยต้องหาข้อมูลจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร หรือข้อมูลจากการเข้าไปสอบถามคนในวัด จากข้อมูลที่ได้มาทำให้ผมพอจะประเมินได้ดังนี้
๑. ต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา สำหรับข้อนี้ตอบได้ชัดเจนว่า นอกจากจะไม่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา แล้วในทางตรงกันข้าม วัดพระธรรมกายกลับจะเป็นปราการอันแข็งแกร่ง ของพระพุทธศาสนา จากการรุกรานอันไม่ชอบธรรมจากต่างศาสนา ที่ไม่ ยึดหลักการเผยแผ่สากล ที่ชอบไปเบียดเบียนศาสนิกของศาสนาอื่น โดยใช้การบังคับให้เป็นพวก หากไม่เป็นพวกก็ตาย นอกจากนี้วัดนี้ยังเข้าไป เป็นมือเป็นเท้า สนองงานให้กับการคณะสงฆ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสิ่งที่วัดได้ทำประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการช่วยเหลือในภัยพิบัติต่างๆ ทอดผ้าป่าใน ๔ จังหวัดภาคใต้อย่างต่อเนื่อง มากว่าสิบปี ให้ทุนการศึกษามาอีกนับไม่ถ้วน ที่สำคัญยังเป็นแหล่งผลิต พระภิกษุ สามเณร ให้กับพระพุทธศาสนา ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุ สามเณรกว่า ๓,๐๐๐ รูป มีศูนย์สาขาอยู่ทั่วโลก ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ไม่มีทางที่จะเป็นภัยต่อ พระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน
๒. ต่อความมั่นคงของประเทศชาติ หากมองด้วยสายตาที่เป็นธรรม จะเห็นได้ว่า นอกจากวัดพระธรรมกายจะไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติแล้ว กลับจะทำให้ประเทศชาติมั่นคงด้วยซ้ำ เพราะวัดมีโครงการอบรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน เป็นการเตรียมคนที่มีคุณธรรมให้กับสังคม หากวันข้างหน้า เรามีคนที่มีคุณภาพ นำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต มาใช้ในที่ทำงาน ในครอบครัว นั่นยิ่งจะเป็นตัวชี้นำถึงความเข้มแข็งของสังคมโดยมหัพภาค
๓. ต่อความมั่นคงของผู้ที่มีกิจการที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข สำหรับข้อนี้ก็ชัดเจนอีกเช่นเดียวกันว่า แน่นอน วัดพระธรรมกายคัดค้านการค้าเหล้า เบียร์ บุหรี่ จัดโครงการเทเหล้าเผาบุหรี่ไปทั่วโลกรวมทั้งการเอานิสิตนักศึกษามาอบรมให้เห็นภัยในสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งให้นักศึกษาใช้เวลาในการปฏิบัติธรรม แทนที่จะไปเข้าผับ เข้าบาร์ จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่า กระทบกระเทือนความมั่นคง (ทางการเงิน) ของผู้ประกอบการในเรื่องนี้
หลายครั้งในประวัติศาสตร์ที่เราสูญเสียสิ่งดี ๆ คนดี ๆไปเพราะขาดข้อมูลที่สมบูรณ์หรืออาจจะด้วยอคติ ทำให้ประเทศชาติต้องล้าหลังหรือหยุดอยู่กับที่ เราจะให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอีกกี่ครั้งจึงจะสำนึก
ปรัศนี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น